laam (levo-alpha-acetylmethadol)
28 มีนาคม 2566

levo-alpha-acetylmethadol มีชื่อในทางการค้าที่รู้จักกันทั่วไปคือ orlaam®

ชื่ออื่นที่ใช้กันทั่วไป  laam, lam, levoacetylmethadol, levomethadyl acetate, betacetylmethadol และ mk 790

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา   laam เป็น opiod agonist เช่นเดียวกับเมทาโดน สามารถลดอาการถอนยาของผู้ป่วยที่ติดยาเสพติด ออกฤทธิ์ได้นานถึง 48-72 ชั่วโมง ในขณะที่เมทาโดนออกฤทธิ์นานเพียง 24 ชม. laam เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยที่ติดยาในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งข้อดีของการใช้ laam คือ ผู้ป่วยไม่ต้องมารับยาที่คลินิกทุกวัน เพราะสามารถให้สัปดาห์ละสามครั้ง หรือวันเว้นวัน


laam.gif

สูตรโครงสร้างของ laam


น้ำหนักโมเลกุล laam acetate : C23H31NO2 : 353.5

laam เป็น mu-receptor opioid agonist โดยเข้าไปแทนที่ opioid   กลุ่มมอร์ฟีน ดังนั้นจึงเข้าไปกดอาการถอนยา ที่เกิดกับคนซึ่งติดสารประเภทดังกล่าว เมื่อใช้อย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิด cross-tolerance ต่อผลของ mu-receptor agonist ชนิดอื่น รวมทั้งทำให้เกิดความรู้สึกอยากยาและทำให้ผู้ที่ติดยา ไม่รู้สึกอยากจะกลับไปเสพยาเสพติดที่ผิดกฎหมายอีก

อาการข้างเคียง ปวดเนื้อตัวและมีไข้ ท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน กระวนกวะวาย นอนไม่หลับ

การสั่งจ่ายยาสำหรับผู้ใหญ่  ที่ใช้ในการบำบัดรักษาคนไข้ที่ติดยาเสพติดประเภท opiate นั้น

การให้ในระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาโดยเมทาโดนระยะยาวมาก่อน ให้รับประทาน 20 ถึง 40 มก. ในการให้ครั้งแรก และครั้งต่อไปให้ทุก 48 หรือ 72 ชม.

การให้ในระยะยาว ขนาดยาไม่ควรเกิน 140 มก. 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือวันเว้นวัน ห้ามใช้ในผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 18 ปี

ความแรงของยาที่มีขายในสหรัฐอเมริกา 10 mg/ml orlaam®

การควบคุมทางกฎหมายในประเทศไทย  เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด


บทลงโทษ.png


ในปัจจุบันยังไม่มีการนำ laam เข้ามาใช้ในประเทศไทย


บรรณานุกรม

  1. ธีรธร มโนธรรม laam (levo-alpha-acetylmethadol) ทางเลือกใหม่ใน
    การบำบัดรักษาผู้ติดยา กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการ
    อาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข 27 กันยายน 2543
  2. http://www.opioids.com/laam/ structure.html