เป็น alkaloid ซึ่งพบในพืชฝิ่น มีฤทธิ์ระงับปวด (Analgesic) เป็น major metabolite ของ
Thebaine ซึ่ง Thebaine สามารถนำไปสังเคราะห์ได้ Codeine และ Morphine ขณะเดียวกัน Oripavine ก็สามารถถูกเปลี่ยนกลับ ( convertible ) เป็น Thebaine ได้โดยผ่านกระบวนการ methylation ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของ INCB ที่รายงานว่าในสหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย มีการนำ Oripavine ไปใช้ในการผลิต Thebaine ด้วย
- ฤทธิ์ในการระงับปวดของ Oripavine พอๆ กับ Morphine และมากกว่า Thebaine
- ศักยภาพในการพึ่งยา (Dependence potential) ของ Oripavine ใกล้เคียงกับ Morphine
- IUPAC Name ของ Oripavine คือ (5R)-6,7,8,14-tetradehydro-4,5-epoxy-6-methoxy-17-methylmorphinan-3-ol หรือ 6, 7, 8, 14-Tetradehydro-4, 5a-epoxy-6-methoxy-17- methylmorphinan-3-ol
ข้อมูลด้านการควบคุม Oripavine ในต่างประเทศ
– ตามอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ.1961 ตารางที่ 1
ระดับการควบคุม : มีการควบคุมที่เข้มงวด การนำเข้า-ส่งออกระหว่างประเทศแต่ละครั้ง จะต้องจัดให้มี Import/Export Authorization โดยปริมาณที่นำเข้าหรือส่งออกจะอยู่ภายใต้ประมาณการที่แต่ละประเทศได้แจ้งความต้องการใช้ในแต่ละปี และเมื่อมีการนำเข้า-ส่งออกเรียบร้อยแล้ว จะต้องสลักหลังแจ้งปริมาณที่นำเข้า-ส่งออกจริงให้แก่ประเทศคู่ค้าทราบ ตลอดจนต้องจัดทำรายงานรายไตรมาสและรายปี เกี่ยวกับการผลิต การใช้ การนำเข้า การส่งออก และประมาณการใช้ แต่ละปี แจ้งให้ INCB ทราบเป็นข้อมูล
ตัวอย่างสารที่ถูกควบคุมภายใต้ตารางที่ 1 เช่น Thebaine, Morphine, Opium, Pethidine
– ในประเทศสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกาได้กำหนดการควบคุม Oripavine อยู่ภายใต้ Schedule II ของ Controlled Substances Act เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2007 สารอื่นๆที่ควบคุมใน Schedule II เช่น Codeine, Morphine, Opium, Thebaine
– ในประเทศไทย
ปัจจุบัน Oripavine ถูกควบคุมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มีการควบคุมและบทกำหนดโทษดังนี้