อย
กองควบคุมวัตถุเสพติด

NARCOTICS CONTROL DIVISION
  • เว็บลิงก์
  • ติดต่อเรา
  • ร้องเรียน
  • คำถามที่พบบ่อย
EN
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • โครงสร้างและอัตรากำลัง
    • ภารกิจและหน้าที่
    • ผลการดำเนินงานของกอง
    • การดำเนินงานเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ
    • รางวัลที่กองได้รับ
    • ภาพกิจกรรม
    • ติดต่อเรา
    • รับสมัครงาน
    • สำหรับเจ้าหน้าที่กองควบคุมวัตถุเสพติด
    • จองห้องประชุม
  • บริการประชาชน
    • คู่มือประชาชน
    • e-Book
    • ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวกับวัตถุเสพติด
  • สำหรับผู้ประกอบการ
    • การขออนุญาตนำเข้า-ส่งออกเฉพาะคราวยาเสพติด/วัตถุออกฤทธิ์ และ นำผ่าน
    • การขอหนังสือรับรองการนำหรือสั่งเข้ามาซึ่งสารกาเฟอีน (Caffeine)
    • การขออนุญาตสำหรับสถานพยาบาล
    • การขออนุญาตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1
    • การขออนุญาตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1
    • ขออนุญาตยาเสพติดให้โทษให้โทษในประเภท 2 และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 (สำหรับบริษัท)
    • การขออนุญาตยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
    • การอนุญาตทะเบียนตำรับ / โฆษณา / หนังสือรับรองยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุออกฤทธิ์
    • แจ้งไม่มีการต่ออายุใบอนุญาต ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด (ในช่วงปลายปี 2565)
    • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการตรวจประเมินการออกใบอนุญาต/ทะเบียน
    • สรุปการจัดทำรายงานวัตถุเสพติดของสถานพยาบาล
    • แบบฟอร์มรายงาน/บัญชี และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับวัตถุเสพติด
    • แนวทางการขึ้นทะเบียน / หนังสือรับรอง
    • ข้อความมาตรฐานของเอกสารกำกับยา (ไม่ใช่เอกสารอ้างอิง)
    • ค่าธรรมเนียม
    • แบบฟอร์มคำขอใบอนุญาต
    • ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มเกี่ยวกับ ยส.2
    • คู่มือการใช้งานระบบ e-Submission
    • ขอวินิจฉัยผลิตภัณฑ์ ผ่านระบบ e-consult
    • การทำลายวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์
    • ระบบรายงานยาเสพติดให้โทษในประเภท 4
    • แบบฟอร์มรายงานกัญชา/กัญชง
    • ประชุมชี้แจงกฎหมายใหม่
      • การอนุญาตจำหน่าย ยส.๒ หรือ วจ.๒ พ.ศ. ๒๕๖๗
  • สำหรับเจ้าหน้าที่ สสจ.
    • คู่มือการใช้งานระบบ e-Submission
    • คู่มือกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการเข้าใช้งานระบบ
    • คำสั่ง อย. เรื่อง มอบอำนาจ
    • กลุ่ม Open chat สำหรับเจ้าหน้าที่
    • E-learning
      • โครงการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบเครือข่าย
      • การตรวจอนุญาตสถานที่สกัดกัญชง
    • ประชุมชี้แจงกฎหมายใหม่
      • การอนุญาตจำหน่าย ยส.2 หรือ วจ.2 พ.ศ. 2567
      • การอนุญาต วจ.1 / ยส.3 / ตักเตือน พักใช้ หรือการเพิกถอนใบอนุญาต
  • กฎหมาย
    • กฎหมายใหม่/ประเภทกฎหมาย
    • รายชื่อยาเสพติด/วัตถุเสพติด/สารระเหย
    • บทกำหนดโทษยาเสพติด/วัตถุออกฤทธิ์/สารระเหย
    • สาระสำคัญการควบคุมตามกฎหมาย
    • หลักเกณฑ์/แนวทาง
  • กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • โครงสร้างและอัตรากำลัง
    • ภารกิจและหน้าที่
    • ผลการดำเนินงานของกอง
    • การดำเนินงานเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ
    • รางวัลที่กองได้รับ
    • ภาพกิจกรรม
    • ติดต่อเรา
    • รับสมัครงาน
    • สำหรับเจ้าหน้าที่กองควบคุมวัตถุเสพติด
    • จองห้องประชุม
  • บริการประชาชน
    • คู่มือประชาชน
    • e-Book
    • ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวกับวัตถุเสพติด
  • สำหรับผู้ประกอบการ
    • การขออนุญาตนำเข้า-ส่งออกเฉพาะคราวยาเสพติด/วัตถุออกฤทธิ์ และ นำผ่าน
    • การขอหนังสือรับรองการนำหรือสั่งเข้ามาซึ่งสารกาเฟอีน (Caffeine)
    • การขออนุญาตสำหรับสถานพยาบาล
    • การขออนุญาตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1
    • การขออนุญาตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1
    • ขออนุญาตยาเสพติดให้โทษให้โทษในประเภท 2 และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 (สำหรับบริษัท)
    • การขออนุญาตยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
    • การอนุญาตทะเบียนตำรับ / โฆษณา / หนังสือรับรองยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุออกฤทธิ์
    • แจ้งไม่มีการต่ออายุใบอนุญาต ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด (ในช่วงปลายปี 2565)
    • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการตรวจประเมินการออกใบอนุญาต/ทะเบียน
    • สรุปการจัดทำรายงานวัตถุเสพติดของสถานพยาบาล
    • แบบฟอร์มรายงาน/บัญชี และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับวัตถุเสพติด
    • แนวทางการขึ้นทะเบียน / หนังสือรับรอง
    • ข้อความมาตรฐานของเอกสารกำกับยา (ไม่ใช่เอกสารอ้างอิง)
    • ค่าธรรมเนียม
    • แบบฟอร์มคำขอใบอนุญาต
    • ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มเกี่ยวกับ ยส.2
    • คู่มือการใช้งานระบบ e-Submission
    • ขอวินิจฉัยผลิตภัณฑ์ ผ่านระบบ e-consult
    • การทำลายวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์
    • ระบบรายงานยาเสพติดให้โทษในประเภท 4
    • แบบฟอร์มรายงานกัญชา/กัญชง
    • ประชุมชี้แจงกฎหมายใหม่
      • การอนุญาตจำหน่าย ยส.๒ หรือ วจ.๒ พ.ศ. ๒๕๖๗
  • สำหรับเจ้าหน้าที่ สสจ.
    • คู่มือการใช้งานระบบ e-Submission
    • คู่มือกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการเข้าใช้งานระบบ
    • คำสั่ง อย. เรื่อง มอบอำนาจ
    • กลุ่ม Open chat สำหรับเจ้าหน้าที่
    • E-learning
      • โครงการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบเครือข่าย
      • การตรวจอนุญาตสถานที่สกัดกัญชง
    • ประชุมชี้แจงกฎหมายใหม่
      • การอนุญาตจำหน่าย ยส.2 หรือ วจ.2 พ.ศ. 2567
      • การอนุญาต วจ.1 / ยส.3 / ตักเตือน พักใช้ หรือการเพิกถอนใบอนุญาต
  • กฎหมาย
    • กฎหมายใหม่/ประเภทกฎหมาย
    • รายชื่อยาเสพติด/วัตถุเสพติด/สารระเหย
    • บทกำหนดโทษยาเสพติด/วัตถุออกฤทธิ์/สารระเหย
    • สาระสำคัญการควบคุมตามกฎหมาย
    • หลักเกณฑ์/แนวทาง
  • กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด
  • เว็บลิงก์
  • ติดต่อเรา
  • ร้องเรียน
  • คำถามที่พบบ่อย
ภาษา
EN
image assembly
การเข้าถึง
close assembly
  • ขนาดตัวอักษร
    • ก
    • ก
    • ก
  • การเว้นระยะห่าง
    • icon space 1
    • icon space 2
    • icon space 3
  • ความตัดกันของสี
    • icon color 1สีปกติ
    • icon color 2ขาวดำ
    • icon color 3ดำ-เหลือง
banner

  • หน้าแรก
  • คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่พบบ่อย

คำตอบ

ตามมาตรา 4 พรบ. สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ให้นิยามของผู้ป่วยว่า “ผู้ป่วย” หมายความว่า ผู้ขอรับบริการในสถานพยาบาล ดังนั้นการจ่ายยาให้กับผู้ป่วยของตนโดยปกติทั่วไปควรกระทำในสถานพยาบาลของตน ไม่สมควรจ่ายยานอกสถานพยาบาล นอกจากนี้ การใช้วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 เป็นประจำติดต่อกันอาจทำให้เกิดการเสพติด ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ หรืออาจมีการลักลอบนำไปใช้ในทางที่ผิด ก่อให้เกิดปัญหาสังคมได้ ดังนั้นเพื่อให้มีการนำวัตถุออกฤทธิ์ไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์อย่างถูกต้อง จึงจำกัดให้ผู้มีสิทธิ์สั่งจ่ายวัตถุออกฤทธิ์ได้คือ แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ ที่สั่งจ่ายให้กับผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยที่ตนให้การรักษา ดังนั้นแพทย์ผู้ให้การรักษา จึงควรมีการตรวจผู้ป่วยซึ่งตนให้การรักษา ตามหลักวิชาการ และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ก่อนพิจารณาสั่งจ่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3 หรือประเภท 4 ให้กับผู้ป่วยนั้นๆ สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถเดินทางมาที่สถานพยาบาลได้นั้น ทางสถานพยาบาลอาจต้องออกหน่วยเคลื่อนที่ไปพบผู้ป่วยแทนหรืออาจพิจารณาส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาในสถานพยาบาลอื่นที่สะดวกต่อการเดินทางไปพบแพทย์ของผู้ป่วยแทน

คำตอบ

ไม่สามารถยืมวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จากสถานพยาบาลอื่นได้ เนื่องจาก ตาม พรบ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ได้ให้คำยามคำว่า “ขาย” ให้หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย ซึ่งตามมาตรา 13 ทวิ ห้ามมิให้ผู้ใดขายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ยกเว้นกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุข เพราะฉะนั้นการยืมวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ระหว่างสถานพยาบาล จึงเท่ากับเป็นการขาย อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 89 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท

คำตอบ

มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้

กรณีสถานพยาบาลเอกชน ที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร

1) ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ทำหนังสือแจ้งมายังกองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยแจ้งชนิดของวัตถุออกฤทธิ์หรือยาเสพติด เลขที่ผลิต (Lot. No.) วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ ปริมาณ และสาเหตุที่ต้องการจะทำลาย รวมถึงวัน เวลา และสถานที่ที่ต้องการทำลาย เพื่อขออนุมัติการทำลายจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

2) เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว เจ้าหน้าที่กองควบคุมวัตถุเสพติด จะแจ้งให้ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลทราบ และในการทำลายจะต้องมีเจ้าหน้าที่ฯ ร่วมเป็นพยานในการทำลาย โดยเจ้าหน้าที่ฯ จะตรวจสอบวัตถุออกฤทธิ์หรือยาเสพติดที่จะทำลาย เลขที่ผลิต (Lot. No.) วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ ปริมาณ พร้อมทั้งจัดทำบันทึกการทำลายวัตถุออกฤทธิ์หรือยาเสพติด และถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน เพื่อรายงานต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

กรณีสถานพยาบาลเอกชน ที่ตั้งอยู่ในเขตปริมณฑล และส่วนภูมิภาค

1) ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล ทำหนังสือแจ้งมายังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แจ้งชนิดของวัตถุออกฤทธิ์หรือยาเสพติด เลขที่ผลิต (Lot. No.) วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ ปริมาณ และสาเหตุที่ต้องการจะทำลาย รวมถึงวัน เวลา สถานที่ที่ต้องการทำลาย เพื่อขออนุมัติการทำลายจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

2) เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จะแจ้งให้ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลทราบและในการทำลายจะต้องมีเจ้าหน้าที่ฯ ร่วมเป็นพยานในการทำลาย โดยเจ้าหน้าที่ฯ จะตรวจสอบวัตถุออกฤทธิ์หรือยาเสพติดที่จะทำลาย เลขที่ผลิต (Lot. No.) วันเดือนปีที่ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ ปริมาณ พร้อมทั้งจัดทำบันทึกการทำลายวัตถุออกฤทธิ์หรือยาเสพติด และถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน เพื่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะได้แจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้ทราบต่อไป

กรณีสถานพยาบาลของรัฐ

ให้ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 3 การควบคุมและการจำหน่ายพัสดุ ข้อ 157 โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการอย่างน้อย 3 คน เพื่อทำลายยาแล้วให้ถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน แล้วรายงานมายังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (หนังสือเวียน ที่ สธ 1003.3/ว1264 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 เรื่อง การทำลายวัตถุออกฤทธิ์และยาเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์)

หนังสือเวียน ที่ สธ 1003.3/ว1264 ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 เรื่อง การทำลายวัตถุออกฤทธิ์และยาเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์

คำตอบ

สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มรายงานได้จากเว็บไซต์กองควบคุมวัตถุเสพติด http://spdemo.sharepointthailand.com/sites/Narcotics​ สำหรับการจัดส่งรายงาน สามารถจัดส่งทางไปรษณีย์ ได้ที่

กองควบคุมวัตถุเสพติด

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

ทั้งนี้ท่านต้องจัดเก็บสำเนารายงานดังกล่าวไว้พร้อมแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี สำหรับวัตถุออกฤทธิ์ และอย่างน้อย 5 ปี สำหรับยาเสพติด นับแต่วันลงรายการครั้งสุดท้าย


คำตอบ

บารากู่ เป็นส่วนผสมของใบยาสูบ (tobacco) กับสารที่มีความหวาน เช่น น้ำผึ้งหรือกากน้ำตาล (molasses) หรือผลไม้ตากแห้ง และมักมีการเติมแต่งกลิ่นหอมของผลไม้ เช่น สตรอเบอรี่ แอปเปิ้ล และสมุนไพรบางชนิด เป็นต้น การสูบบารากู่จะต้องมีอุปกรณ์การสูบควันที่เรียกว่าเตาบารากู่ หรือ hookah โดยเป็นการสูบควันผ่านน้ำ บารากู่จัดเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535


บารากู่ หมายถึง หม้อสูบยาสูบ แบบอาหรับ หรือลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกัน อุปกรณ์หรือส่วนประกอบไม่ว่าจะกระทำขึ้นด้วยวัสดุใดที่ใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับสูบควันผ่านน้ำซึ่งเกิดจากการเผาไหม้หรือการใช้ความร้อนผ่านพืช ผลไม้ พืชหมัก สาร สารสกัด หรือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าจะมียาสูบเป็นส่วนประกอบหรือไม่ก็ตาม และให้หมายรวมถึง พืช ผลไม้ พืชหมัก ผลไม้หมัก สาร สารสกัด หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เป็นแหล่งกำเนิดควันสำหรับอุปกรณ์ดังกล่าว

บารากู่ไฟฟ้า หรือบุหรี่ไฟฟ้า หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ทำให้เกิดละองไอน้ำในลักษณะคล้ายควันบุหรี่ไม่ว่าจะกระทำขึ้นด้วยวัตถุใด ซึ่งใช้สำหรับสูบในลักษณะเดียวกับการสูบบุหรี่

ยาสูบที่นำมาใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้เสพที่มีชื่อเรียกว่า ฮุคคา (hookah) อุปกรณ์นี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายภาษา เช่น water pipe, narghile, shisha, hubble-bubble เป็นต้น ประเทศไทยเรียกว่า เตาบารากู่ การสูบยาสูบโดยใช้อุปกรณ์นี้เป็นวัฒนธรรมแถบตะวันออกกลางมานานแล้ว ซึ่งปัจจุบันนี้นอกจากพบในตะวันออกกลางแล้ว ยังมีในแถบโลกตะวันตกด้วย

สารที่นำมาใช้กับอุปกรณ์ฮุคคา ไม่จำเป็นต้องแห้งสนิท ที่มักใช้กันมีชื่อเรียกว่า โทบาเมล หรือ มาแอสเซล (tobamel or maassel) ซึ่งประเทศไทยรู้จักกันในชื่อว่า บารากู่ เป็นส่วนผสมของใบยาสูบ (tobacco) กับสารที่มีความหวานเช่น น้ำผึ้ง หรือกากน้ำตาล (molasses) หรือผลไม้ตากแห้ง

อันตรายของบารากู่ต่อสุขภาพ

มีงานศึกษาเกี่ยวกับการสูบยาโดยใช้ฮุคคานั้น ถ้าใช้เวลาสูบนาน 45 นาที จะได้รับสารทาร์เป็น 36 เท่า คาร์บอนมอนนอกไซด์เป็น 15 เท่า และนิโคตินเป็น 70 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้บุหรี่ 9 มวน (ซึ่งคำนวณว่า 1 มวนใช้เวลา 5 นาที) และอีกการศึกษาหนึ่งพบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่สูบยาแล้ว มีโอกาสการเป็นโรคเหงือกมากกว่าถึง 5 เท่า

บารากู่ ถือเป็นยาสูบที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ แต่ยังไม่มีการควบคุมการขาย ยาสูบ เครื่องสูบ ประเภทดังกล่าว ทำให้มีการขายอย่างเสรีในหลายที่ รวมทั้งผับ บาร์ ที่ยังลักลอบจำหน่าย


รายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ : สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

อาคารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีบำราศนราดูร อาคาร10ชั้น (ชั้น6) 126/146 หมู่ 4

ซอยบำราศนราดูร ถนนติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

คำตอบ

บารากู่ จัดเป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 ซึ่งตามมาตรา 11 วรรคสองของพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้ผู้ผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสูบมีหน้าที่ต้องแจ้งรายการส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ยาสูบให้กระทรวงสาธารณสุขทราบตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง (พ.ศ. 2540)
ซึ่งปัจุบันกฎหมายดังกล่าวอยู่ในการกำกับดูแลของ
สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
(ที่ตั้ง : อาคารวิทยาลัยพยาบาลบรมราช-ชนนีบำราศนราดูร อาคาร10 ชั้น (ชั้น6)
126/146 หมู่ 4 ซอยบำราศนราดูร ถนนติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 0 – 2580 – 9307 โทรสาร. 0 – 2580 -9237, 0 – 2580 -9264)

คำตอบ

1) การขอรับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ของสถานพยาบาล สามารถสอบถามรายละเอียดขั้นตอนการขออนุญาตได้ จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในจังหวัดที่เป็นที่ตั้งสถานพยาบาลหรือสอบถามได้ที่กองควบคุมวัตถุเสพติด อย. โทรศัพท์ 0 2590 7343 , 0 2590 7762 , 0 2590 7792 ซึ่งการยื่นขอรับใบอนุญาตฯ นั้น สามารถยื่นคำขอได้ ณ กองควบคุมวัตถุเสพติด อย. หรือส่งคำขอมาทางไปรษณีย์ก็ได้ กรณีสถานพยาบาลนั้น สังกัดหน่วยราชการอื่น สามารถดูรายละเอียดได้ที่ หนังสือเวียนที่ สธ 1003.2/ว2369 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2555 ที่เว็บไซต์กองควบคุมวัตถุเสพติด

2) ผู้ดำเนินกิจการจะต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ หรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ส่วนผู้รับอนุญาตนั้นต้องเป็นนิติบุคคล ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับว่าสำนักงานเทศบาลเมือง ก. สังกัดหน่วยงานใดในระดับที่เป็นนิติบุคคล ก็ขอในนามหน่วยงานที่เป็นนิติบุคคลนั้นๆ

3) ในกรณีเทศบาลมีศูนย์บริการสาธารณสุข 2 แห่ง จำเป็นต้องขอใบอนุญาตแยก 2 ฉบับ สำหรับศูนย์บริการสาธารณสุขแต่ละแห่ง เนื่องจากในใบอนุญาตฯ จะระบุสถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้มีไว้ในครอบครองฯ คือ 1 ใบอนุญาต ต่อการอนุญาต 1 สถานที่

คำตอบ

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ที่ผู้อนุญาตจะอนุญาตให้จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ลงวันที่ 6 มกราคม 2555 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 197 พ.ศ. 2549 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดปริมาณยาเสพติเดให้โทษในประเภท 2 ที่ผู้อนุญาตจะอนุญาตให้จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง ลงวันที่ 31 มีนาคม 2549 ได้อนุญาตให้ผู้รับอนุญาตฯ จำหน่าย Methadone ได้ดังนี้

1. ชนิดเม็ด สำหรับการบำบัดอาการปวด

2. ชนิดน้ำ สำหรับการบำบัดอาการปวดและการบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติดให้โทษ ดังนั้น จึงสามารถสั่งจ่าย Methadone Solution เพื่อใช้บำบัดอาการปวดได้

อ่านเพิ่มเติม ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดปริมาณยาเสพติดในประเภท 2 ที่ผู้อนุญาตจะอนุุญาตให้จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง (ฉบับที่2) พ.ศ. 2555

คำตอบ

ให้สอบถามเฉพาะรายใน line กลุ่ม (ในเวลาราชการ คือ อาทิตย์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.00 น.) โดยควรแจ้ง ชื่อสถานพยาบาล หรือ ชื่อผู้รับอนุญาต ให้ชัดเจน

คำตอบ

ดูข้อมูลใน note : google drive หัวข้อ ฝ่ายขายและติดตามการกระจายวัตถุเสพติด และใน website : http://www.fda.moph.go.th/sites/NRF/SitePages/Sell_Page.aspx

123
แสดงผล รายการ
อย
กองควบคุมวัตถุเสพติด

NARCOTICS CONTROL DIVISION

กองควบคุมวัตถุเสพติด : 88/24 ถนนติวานนท์
ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

จันทร์ – ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น.
e-Mail : narcotic@fda.moph.go.th

  • Website Policy
  • Privacy Policy
  • Disclaimer

รองรับการทำงานบน Internet Explorer v9+, Firefox v.20+, Safari v.5+, Chrome v.25+, Opera v.10+

Sitemap
หน้าแรก
    เกี่ยวกับเรา
    • ทำเนียบผู้บริหาร
    • โครงสร้างและอัตรากำลัง
    • ภารกิจและหน้าที่
    • ผลการดำเนินงานของกอง
    • ติดต่อเรา
    • รับสมัครงาน
    • สำหรับเจ้าหน้าที่
    บริการประชาชน
    • e-Book
    • คู่มือประชาชน
    • ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวกับวัตถุเสพติด
    สำหรับผู้ประกอบการ
    • แจ้งไม่มีการต่ออายุใบอนุญาต ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด (ในช่วงปลายปี 2565)
    • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการตรวจประเมินการออกใบอนุญาต/ทะเบียน
    • แบบฟอร์มรายงาน/บัญชี และอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับวัตถุเสพติด
    • แนวทางการขึ้นทะเบียน / หนังสือรับรอง
    • ข้อความมาตรฐานของเอกสารกำกับยา
    • ค่าธรรมเนียม
    • การบริการในช่วงสถานการณ์ Covid-19
    • แบบฟอร์มคำขอใบอนุญาต
    • ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์มเกี่ยวกับ ยส.2
    • คู่มือการใช้งานระบบ e-Submission
    • ขอวินิจฉัยผลิตภัณฑ์ ผ่านระบบ e-consult
    • การทำลายวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์
    สำหรับเจ้าหน้าที่ สสจ.
    • คู่มือการใช้งานระบบ e-Submission
    • กลุ่ม Open chat สำหรับเจ้าหน้าที่
    • คำสั่ง อย. เรื่องมอบอำนาจ
    • คู่มือกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ประกอบการเข้าใช้งานระบบ
    กฎหมาย
      กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด

        Follow us :
        • fb-icon.pnghttps://www.facebook.com/fdathainarcotic/?ti=as
        • youtube-icon.pnghttps://www.youtube.com/channel/UCu5_Ebhhfn1G-t_6VGKL_ag
        ผู้ชมเว็บไซต์ :

        rss image ipv6 image w3c html image w3c css image
        • แบบสำรวจการให้บริการด้านข้อมูลเว็บไซต์
        • แบบสำรวจความพีงพอใจต่อเว็บไซต์
        Copyright 2020 | สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

        Subscribe

        เลือกหัวข้อที่ท่านต้องการ Subscribe

        no-popup