Etizolam
28 มีนาคม 2566

ชื่ออื่นๆ :  Depas, Etilaam, Etizest, Etizola, Etizolan, Pasaden, Sedekopan (1)


ข้อมูลทั่วไป :
  สูตรโมเลกุล : C17H15ClN4S

มวลโมเลกุล : 342.8 g/mol

CAS Number : 40054-69-1

ลักษณะกายภาพ : ผงผลึกสีขาว (white odourless crystalline powder)

IUPAC Name : 4-(2-chlorophenyl)-2-ethyl-9-methyl-6H-thieno[3,2- f][1,2,4]triazolo[4,3-a][1,4]diazepine

จุดหลอมเหลว : 147-148 °C


Etizolam_JPG.jpg


ฤทธิ์เภสัชวิทยา : ออกฤทธิ์คล้ายกับยานอนหลับในกลุ่ม Benzodiazepine โดยจับกับตัวรับบน GABAreceptor มีฤทธิ์กดการทำงานของสมอง และทำให้มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารสื่อประสาทต่างๆในสมอง ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับยานี้จะทำให้คลายความวิตกกังวล ง่วงนอน


ข้อบ่งใช้ : พบข้อมูลการอนุญาตให้ใช้เป็นยาในบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อิตาลี และอินเดีย โดยใช้ในการรักษาโรควิตกกังวลทั่วไป (generalized anxiety) ภาวะอาการซึมเศร้า (depressive symptoms) โดยขนาดที่ใช้ในการรักษา แนะนำ 0.5 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง


อาการไม่พึงประสงค์
 :  ง่วงซึม กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดไม่ชัด เดินเซ ง่วงนอน หากใช้เป็นระยะเวลานาน (มากกว่า 1 เดือนขึ้นไป) อาจเกิดภาวะตาปิดเกร็ง (blepharospasm) ได้ (1)


การใช้ยาในทางที่ผิด
 : นำมาใช้ทดแทนยาเสพติด เช่น ยาอี (Ecstasy) เป็นต้น เพื่อทำให้ผ่อนคลาย เคลิ้มสุข พบการแพร่ระบาดในไทยครั้งแรกเมื่อ ปลายปี พ.ศ. 2560 ตรวจพบโดยสำนักยาและวัตถุเสพติด ร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ในการตรวจวิเคราะห์ของกลางที่   ส่งจากสถานีตํารวจภูธร 7 แห่งในเขตจังหวัดนราธิวาสและยะลา (2) ส่วนการนำไปใช้ในทางที่ผิดในต่างประเทศพบมากในแถบยุโรปและอเมริกา


การควบคุมทางกฎหมาย
 : ประเทศไทยจัดอีทิโซแลมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด


บทลงโทษ.png



อ้างอิง :

1. World Health Organization .// 37th ECDD (2015) Agenda item 5.7//Etizolam (INN) Pre-Review Report.//สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561./จาก/

http://www.who.int/medicines/access/controlled-substances/5.7_Etizolam_PreRev.pdf

2.กระทรวงสาธารณสุข.//กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์//ข่าวกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.//(2560).// กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจพบยานอนหลับชนิดใหม่ระบาดในประเทศไทย.//สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561./จาก/https://www.skho.moph.go.th/agendaupload/2560/11-2560/7.1.pdf

3. กระทรวงสาธารณสุข.//สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.//กองควบคุมวัตถุเสพติด.//(2561).//ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 4 พ.ศ. 2561.//สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561./จาก/http://www.fda.moph.go.th/sites/Narcotics/Laws/PK61_NVJ4.240861.PDF

4. พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2559 http://library2.parliament.go.th/giventake/content_nla2557/law107-201259-1.pdf