เฮโรอีน (Heroin)
28 มีนาคม 2566

เฮโรอีน เป็นสารเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 1 ตาม พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เป็นสารสังเคราะห์ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกับฝิ่น และมอร์ฟีน มีชื่อทางวิทยศาสตร์ว่า ไดอาเซททิลมอร์ฟีน (diacetylmorphine) สูตรเคมีคือ c21h23no5 เฮโรอีนที่นำมาเสพจะอยู่ในรูปเกลือเช่น เฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ มีลักษณะเป็นผงสีขาว รสขม แต่สีจะเปลี่ยนไปตามองค์ประกอบที่ใส่เข้าไปในขบวนการผลิต เฮโรอีนมีชื่อเรียกอื่นเช่น ผงขาว แค็ป


hero.jpg


ผลของการเสพเฮโรอีนเข้าสู่ร่างกาย เฮโรอีนสามารถเสพได้หลายวิธี เช่นการฉีด การสูดเข้าจมูก หรือสูบการเสพโดยวิธีสูบควันจะเข้าสู่สมองภายใน 7 วินาที และหากเสพโดยวิธีฉีดจะออกฤทธิ์ภายใน 30 วินาที เมื่อเฮโรอีนเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเริ่มออกฤทธิ์ทันที ผู้เสพจะรู้สึกเสียวซ่านอย่างแรงอยู่นาน 1-2 นาที ต่อจากนั้นจะรู้สึกตัวร้อนวูบวาบ ปากแห้ง แขนขาหนักอึ้ง ไม่มีความเจ็บปวด เคลิบเคลิ้มและผ่อนคลายความเครียด ผู้ที่ใช้เฮโรอีนเป็นเวลานานมักไม่เกิดอาการเสียวซ่านอย่างที่เคยใช้ในครั้งแรกๆ แต่มักเสพยาเพื่อไม่ให้เกิดอาการถอนยา ฤทธิ์อื่นๆ ของเฮโรอีนที่มีผลต่อร่างกาย ได้แก่ ฤทธิ์ระงับอาการไอ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก กดการหายใจ ม่านตาดำหดตัว (miosis)

เฮโรอีนเป็นยาเสพติดที่ก่อให้เกิดการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง แม้จะทดลองเสพเพียงไม่กี่ครั้งก็ตาม ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบกับมอร์ฟีนและฝิ่นแล้ว พบว่าเฮโรอีนมีฤทธิ์ทำให้เสพติดได้ง่ายกว่ามาก ผู้เสพเป็นเวลานานร่างกายจะทรุดโทรม น้ำหนักตัวลด ความคิดสับสน และมีรอยเข็มฉีดยาตามแขน


อาการถอนยา
 คือ กระสับกระส่าย เกิดอาการอยากยา หาว น้ำมูกน้ำตาไหล เหงื่อออกมากผิดปกติ หนาวสั่น เป็นไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง นอนไม่หลับ ความดันโลหิตสูง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีอาการเจ็บปวดทั่วร่างกาย อาการถอนยาดังกล่าวจะเกิดขึ้นหลังจากที่มีการฉีดเข็มสุดท้ายไปแล้ว 8 – 12 ชั่วโมง และจะรุนแรงขึ้นอีกในวันที่ 2 และ 3 จากนั้นอาการจะลดลงไปเรื่อยๆ จนถึงวันที่ 7 -10 จึงจะเข้าสู่ปกติ และจะหายโดยสิ้นเชิงภายใน 1 เดือน


การควบคุมตามกฎหมาย
  เฮโรอีน (Heroin) จัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด


บทกำหนดโทษ


บทลงโทษ.png