ข้อมูลทางวิชาการและการนำไปใช้ในทางที่ผิดของ
meta-Chlorophenylpiperazine (mCPP)
คุณสมบัติ สูตรโครงสร้างทางเคมี (Structural Formula)
เปรียบเทียบสูตรโครงสร้าง
piperazine BZP (1-benzylpiperazine) TFMPP (1-(3-(trifluoromethyl)phenyl)piperazine mCPP
สูตรโมเลกุล (Molecular Formula) : C10H13ClN2
IUPAC Name : 1-(3-chlorophenyl)piperazine
น้ำหนักโมเลกุล (Molecular Weight) : 196.68 g/mol (free base)
CAS Number : 6640-24-0 (free base)
ลักษณะทางกายภาพ : รูปแบบผงสีขาว หรือ รูปแบบสารละลายใส ไม่มีสีจนถึงสีเหลืองอ่อน
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา กลไกการออกฤทธิ์ มีดังนี้
1. ออกฤทธิ์ทาง serotonergic pathway
- เป็นทั้ง agonist และ antagonist ที่ 5-HT receptors
- ออกฤทธิ์คล้ายกับ TFMPP และ MDMA คือ กระตุ้นการหลั่ง serotonin โดยผ่าน SERT–mediated (serotonin transporter) ซึ่งเป็นตัวช่วยในการขนส่ง 5-HT เข้าเซลล์ ทำให้หลั่ง endogenous 5-HT จากเซลล์สมอง ออกฤทธิ์ผ่านทางระบบสารสื่อประสาทอื่น เช่น
- จับกับ α2-adrenoreceptor
2. จับกับ D1 และD2 dopamine receptor ในสมอง แต่การออกฤทธิ์ที่ส่วนนี้น้อย
- จากการศึกษาพบการยับยั้งการ uptake สาร serotonin และ noradrenaline ในหนูขาว
- เปรียบเทียบระหว่าง mCPP กับ MDMA มีดังนี้
1. คล้ายกับ MDMA : มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทและหลอนประสาท (stimulant and hallucination)
2. แตกต่างจาก MDMA : mCPP มีผลต่อ dopamine system น้อยกว่า: mCPP ไม่แสดง reinforcing effect (reinforcing effect คือ การที่สารใดๆ สามารถทำให้ผู้เสพเกิดความต้องการใช้ยาซ้ำอีก หรือใช้อย่างต่อเนื่อง)
- มีผลต่อการเพิ่มการหลั่ง adenocorticotropic hormone (ACTH), cortisol, prolactin และ growth hormone ซึ่งอาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมและอารมณ์ การตื่นตระหนก (panic)อาการวิตกกังวล (anxiety) อารมณ์ละเหี่ย (dysphoria) และอาการซึมเศร้า (depression)
- พบฤทธิ์แก้ปวด (antinociceptive effects) ในสัตว์ทดลอง
- การศึกษาในมนุษย์พบว่า mCPP มีผลต่อการเพิ่มอุณหภูมิของร่างกาย เพิ่มความดันเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจ เพิ่มอาการวิตกกังวล (anxiety) และอารมณ์เคลิ้มสุข (euphoria)
- เป็นเมตาบอไลต์ของยารักษาอาการซึมเศร้า (antidepressant) คือ Trazodone, Nefazodone, Etoperidone และ Enziprazole และยาระงับประสาท (minor tranquilizer) คือ Mepiprazole ค่าครึ่งชีวิต (half life) : 2.6 - 6.1 ชั่วโมง
อาการไม่พึงประสงค์
- พบบ่อย คือ serotonin syndrome อาการอื่นๆ เช่น กระตุ้นประสาท, ประสาทหลอน, วิตกกังวล, เวียนศีรษะ, สับสน, สั่น (shivering), คลื่นไส้, อาเจียน, เหงื่อออกมาก, หัวใจเต้นเร็ว, hypertonia, อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น,อาการร้อนวูบวาบ (hot flushes), หายใจลำบาก, tremors, กดระบบหายใจ, panic attack, ไวต่อสิ่งเร้าที่เป็นดนตรีและเสียง, ไมเกรน, กลัวการสูญเสียการควบคุม (fear of losing control)
- ไม่พบผลต่อ cognitive function
- อาการไม่พึงประสงค์จะเพิ่มขึ้นในผู้ที่ติดสุรา ผู้ที่ติด Cocaine และผู้ที่ใช้ MDMA
ความเป็นพิษ
- ใน pre-clinic ไม่พบข้อมูลที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับความเป็นพิษ, ผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ (reproductive impact) และแนวโน้มการเป็นสารก่อมะเร็ง (mutagenic/carcinogenic potential)
- แม้ว่าจะเป็น serotonergic compound แต่ไม่พบพิษต่อระบบประสาท (neurotoxic potential) ซึ่งแตกต่างจาก MDMA ไม่พบรายงานการเสียชีวิตที่มีสาเหตุจาก mCPP โดยตรง
ประโยชน์ทางการแพทย์
- ประเทศอิรัก : ขึ้นทะเบียนเป็นยาต้านซึมเศร้าในรูปแบบแคปซูลมีขนาด 50 และ 100 มิลลิกรัม ส่วนรูปแบบเม็ดมีขนาด 150 มิลลิกรัม แต่ยังไม่ได้รับการอนุญาตให้ขายในตลาดได้
- ไม่พบการใช้สาร mCPP ในการบำบัดรักษาทางการแพทย์ในประเทศอื่นๆ
- ใช้ในการผลิต Trazodone, Nefazodone, Etoperidone, Enziprazole และ Mepiprazole
- ประเทศสหรัฐอเมริกา : มีรายงานการนำไปใช้เป็นสาร serotonin receptor agonist ในงานวิจัย
การติดยา/การถอนยา ถึงแม้ว่าจะมีการใช้สาร mCPP ในการศึกษาศักยภาพในการทำให้เสพติด (dependence potential) ของสารตัวอื่น เช่น cocaine และ opiates แต่ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับศักยภาพในการทำให้เสพติดของสาร mCPP เป็นการเฉพาะ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สาร mCPP มีศักยภาพในการทำให้เสพติดคล้ายสาร TFMPP, ethanol และ MDMA สำหรับการศึกษาในมนุษย์และรายงานของผู้ใช้สารนี้ เสมือนว่าจะให้ผลเช่นเดียวกัน แต่ก็ยังคงไม่เป็นที่ทราบชัดเจน
การนำไปใช้ในทางที่ผิด/ระบาดวิทยา
- รูปแบบที่พบ ได้แก่ ผง เม็ด แคปซูล น้ำ
- ตามรายงานของ Europol และ EMCDDA พบ 3 รูปแบบ คือ
1. เม็ด : พบในทุกประเทศของยุโรป
2. ผงสีขาว : พบในประเทศเนเธอร์แลนด์
3. แคปซูลสีน้ำเงิน-ขาว : พบในประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังพบการขายทางอินเทอร์เน็ตในรูปแบบผงสีขาวและน้ำด้วย
- สาร mCPP ที่พบการขายทางอินเทอร์เน็ต มีรายงานถึงความบริสุทธิ์ของสาร mCPP อยู่ระหว่างร้อยละ 95 ถึงร้อยละ 98
- Street names : X4, Arlequin, Regenboogies, Arc-en-ciel, Dukovka, Rainbow, Smarties (X4 tablet ประกอบด้วย piperazine 4 ชนิดผสมกัน ได้แก่ mCPP, TFMPP, MeOMPP และ pCPP)
- มีการนำมาทำปลอมและขายในชื่อของ Ecstasy (MDMA) หรือนำมาผสมกับ Ecstasy และประทับตรา โลโก้ต่างๆ เช่น Rolls Royce, Three links, Lacoste crocodile, Versace
- พบในหมู่ผู้ใช้ ecstasy และใช้ในสถานบันเทิงต่างๆ เช่น music festival, dance clubs, street parades
- ตาม American academy of forensic sciences 2012 รายงานว่า พบชายอายุ 20 ปี เสียชีวิตภายหลังจากได้รับสาร mCPP ขนาด 20 มิลลิกรัม สารดังกล่าวมีลักษณะเป็นเม็ด สีขาว ประทับโลโก้ว่า “smiling sun” มีลักษณะคล้ายกับ ecstasy และชายผู้นี้มีประวัติเป็นผู้เสพ cocaine และ ecstasy และได้รับยาเกี่ยวกับโรคหอบหืด สำหรับสาเหตุการเสียชีวิตอาจเกิดจากอาการหอบกำเริบและการได้รับสาร mCPP
- ประเทศสวีเดนรายงานว่า ตำรวจจับกุมชายวัย 19 ปี เนื่องจากเสพ “legal ecstasy” ที่มีชื่อว่า “X4” และจากผลการตรวจเลือดพบสารกลุ่ม piperazine ซึ่งอาจจะเป็นสาร mCPP หรือ pCPP หรือทั้ง 2 ชนิดร่วมกัน
- ประเทศเบลเยี่ยมมีการจับยึดยาเม็ดสีส้มที่มีโลโก้ “Batman” ซึ่งประกอบด้วยสาร mCPP ร้อยละ 11 ผสมอยู่กับสาร TFMPP ร้อยละ 22
- ประเทศสหรัฐอเมริกาพบเม็ดยาทำปลอมในชื่อของ Ecstasy ซึ่งประกอบด้วยสาร mCPP และ caffeine
- จากรายงานของ UNODC (United Nations Office on Drugs and Crime) ปี 2012 ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก พบว่า สารในกลุ่ม piperazine ที่มีการนำมาใช้ในทางที่ผิดมากที่สุดคือ สาร mCPP รองลงมาคือ BZP, TFMPP และ pFPP ตามลำดับปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่จำเพาะเจาะจงเกี่ยวกับ Abuse potential ของสาร mCPP
Route of administration
- พบการเสพมากที่สุดคือ รับประทาน นอกจากนี้ยังเสพโดยสูดเข้าทางจมูก (snort) และฉีดเข้าทาง หลอดเลือด
- พบขนาดที่ใช้โดยทั่วไปคือ 10-200 มิลลิกรัม
การควบคุมในต่างประเทศ
- UN : ไม่มีควบคุมภายใต้อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 (Single Convention on Narcotic Drugs, 1961) และอนุสัญญาว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ปี ค.ศ. 1971 (Convention on Psychotropic Substances, 1971)
การควบคุมในประเทศไทย : ปัจจุบัน meta-Chlorophenylpiperazine (mCPP) ถูกควบคุมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มีการควบคุมและบทกำหนดโทษดังนี้
เอกสารอ้างอิง
1. Expert Committee on Drug Dependence Thirty-fifth Meeting (2012): 1-(3-chlorophenyl)piperazine (mCPP) Pre-Review Report.
2. Expert Committee on Drug Dependence Thirty-fifth Meeting (2012): 1-(3-chlorophenyl)piperazine (mCPP) Expert peer Review on Pre-Review Report.
3. Europol-EMCDDA Active Monitoring Report on a new psychoactive substance: 1-(3-chlorophenyl)piperazine (mCPP).
4. Europol-EMCDDA Joint Report on a new psychoactive substance (2005): 1-(3-chlorophenyl)piperazine (mCPP).
5. Roland F.Staack and Hans H. Maurer (2005) Metabolism of Designer Drugs of Abuse. Current Drug Metabolism.,6,259-274
6. M.G.Bossong,J.P.Van Dijk & R.J.M.Niesink (2005) Methylone and mCPP, two new drugs of abuse. Addiction Biology 10,321-323
update มกราคม 2566