MT-45 เป็นสารสังเคราะห์ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทยาจากประเทศญี่ปุ่น ด้วยสารดังกล่าวเป็น analogue ของสารกลม tricyclic tranquilizer-antipsychotic ตัวหนึ่ง และมีโครงสร้างทางเคมีสัมพันธ์กับยาระงับปวด lefetamine มีการศึกษาเกี่ยวกับสารดังกล่าวในปี ค.ศ. 1970 และ 1980 โดยเป็นการศึกษาในสัตว์ทดลองและในหลอดทดลองแต่ไม่พบการศึกษาในมนุษย์ ต่อมา การศึกษาถูกยุติลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
ลักษณะทางกายภาพ : ผงสีขาวหรือสีขาวนวล
IUPAC name : 1-cyclohexyl-4-(1,2-diphenylethyl)piperazine
Molecular formula : C24H32N2
Molar mass : 348.52 g/mol (รูปเบส (base)), 421.45 g/mol (dihydrochloride salt)
CAS Number : 41537-67-1 (รูปเบส (base)), 57314-55-3 (รูปเกลือไดไฮโดรคลอไรด (dihydrochloride salt))
การออกฤทธิ์
MT-45 เป็น opioid receptor agonist การศึกษาในสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่า MT-45 มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาในการระงับปวด แต่สารดังกล่าวมี การออกฤทธิ์ที่ซับซ้อนโดยไม่ไดมีผลต่อ opioid receptors เพียงอย่างเดียว แต่มีผลต่อ non-opioid targets ด้วย จึงเป็นเหตุให้ ไม่สามารถรับรู้ถึงคุณสมบัติของสารดังกล่าวได้ทั้งหมด
จากการศึกษาพบว่า (S)-isomer MT-45 ในรูปแบบฉีด มีความแรงใน การระงับปวดมากกว่า morphine รูปแบบเดียวกันในสัตว์ทดลองทุกกลุ่ม และมีฤทธิ์ strong antinociception เช่นเดียวกับ morphine เมื่อให้โดย การฉีดเข้าสมองสุกรโดยตรง
MT-45
อาการไม่พึงประสงค์และความเป็นพิษ
อาการไม่พึงประสงค์ : ไม่พบการศึกษาอาการไม่พึงประสงค์ในมนุษย์ การศึกษาในสัตว์ทดลองแสดงให้เห็นว่า MT-45 ทำให้เกิดการกดการหายใจ, รูม่านตาหรี่, การเคลื่อนไหวในระบบทางเดินอาหารบกพร่อง, ภาวะตัวร้อนเกิน (hyperthermia), ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และความจำบกพร่อง
ความเป็นพิษ : ไม่พบการศึกษาความเป็นพิษในมนุษย์ แต่มีรายงานอาการแสดง ของผู้เสพ MT-45 เกินขนาด ได้แก่ ง่วงซึมหรือไม่รู้สึกตัว, อัตราหัวใจเต้นเร็ว, หายใจสั้น (shortness of breath), มีอาการเขียวคล้ำ (cyanosis) และพบ รายงานผู้เสียชีวิต
การติดยาและ การถอนยา
– ไม่พบข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับการติดยาและการถอนยาในมนุษย์ มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า MT-45 สามารถทำให้เสพติดได้สูง
– มีรายงานจากผู้ใช้ทางอินเทอร์เน็ตว่า การเสพ MT-45 ทำให้เกิดความทนยา (tolerance) และทำให้เกิดอาการคล้ายการถอนยา (withdrawal-like symptoms) เช่น เกิดความรู้สึกไม่รื่นรมย์ (unpleasant) รู้สึกร้อนและหนาว, อาเจียนแห้ง (dry retching) และม่านตาขยาย
การนำไปใช้ในทางที่ผิด/ระบาดวิทยา
– street name : IC-6 และมีรายงานจากประเทศเบลเยียมว่ามีการใช้ street name “wow” ในการเรียกสารเสพติดผสมระหว่าง MT-45 และ methylone
– พบรายงานการเสพโดยการสูดทางจมูก (nasal insufflation ; snorting), การรับประทาน, การสูบ, การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ, การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, ทางทวารหนัก และการสูดไอระเหย
– พบการจำหน่ายในรูปแบบผง เม็ด และแคปซูล ทั้งในรูปสารเดียวและสารผสม โดยจำหน่ายผ่านทางอินเทอร์เน็ตและผ่านทาง ผู้ค้าปลีก ของกลาง MT-45 ที่ถูกตรวจยึดได้ส่วนมากเป็นรูปแบบผง
– ระหว่างเดือนตุลาคม 2013 – มิถุนายน 2014 พบรายงานการตรวจยึด MT-45 จำนวน 28 ครั้งในประเทศสวีเดน ซึ่งส่วนมาก เป็นสาร MT-45 ผสมอยู่กับสารเสพติดหรือยาชนิดอื่น เช่น สารกลุ่ม synthetic cathinones สารกลุ่มกระตุ้นประสาท สารกลุ่ม synthetic cannabinoids สำหรับประเทศเบลเยียมพบรายงานการตรวจยึดของกลางเป็นผงสีขาวที่มีส่วนประกอบของ MT-45 ผสมอยู่กับ methylone ในขณะที่ประเทศเยอรมัน พบรายงานการตรวจยึดของกลางเป็นผงสีน้ำตาลอ่อนที่มีส่วนประกอบของ MT-45 ผสมอยู่กับ heroin, caffeine, paracetamol และ sorbital
– ที่ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม 2013 มีรายงานจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ว่าตรวจพบผลิตภัณฑ์ herbal mixture และ liquid aroma ที่วางจำหน่ายภายในประเทศมีส่วนประกอบของสาร MT-45 ผสมอยู่กับ สารเสพติดชนิดอื่น
– ที่เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนสิงหาคม 2013 มีรายงานการพบศพชายหญิงคู่หนึ่งเสียชีวิตจากการเกิดพิษเฉียบพลันจากการใช้ MT-45 และ MT-45 ผสมกับเอทานอล
การควบคุมตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ : คณะกรรมาธิการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ
(Commission on Narcotic Drugs ; CND) ในการประชุม สมัยที่ 59 เมื่อเดือนมีนาคม 2559 มีมติให้ควบคุม MT-45 เป็นสารใน Schedule I ภายใต้อนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วย ยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. 1961 (the Single Convention on Narcotic Drugs, 1961)
การควบคุมในประเทศไทย : ปัจจุบัน MT-45 ถูกควบคุมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มีบทกำหนดโทษ ดังนี้
เอกสารอ้างอิง
[1] พระราชบัญญัติยาเสพตดให้โทษ พ.ศ. 2522 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
[2] ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชอและประเภทยาเสพติดให้โทษ (ฉบับท 22) พ.ศ. 2560
[3] Risk Assessment Report of a new psychoactive substance:1-cyclohexyl-4-(1,2-diphenylethyl)piperazine (MT-45).
15 September 2014. http://www.emcdda.europa.eu/publications/risk-assessment/mt-45.
[4] Evaluation of Drug Activities : Pharmacometrics volume 1. Edited by D.R.LAURENCE and A.L.BACHARACH. ACADEMIC PRESS LONDON and NEW YORK. 1964. https://books.google.co.th/books/about/Evaluation_of_Drug_Activities.html?id=_BK0AAAAIAAJ&redir_esc=y.
[5] MT-45 Critical Review Report. Expert Committee on Drug Dependence Thirty-seventh Meeting Geneva, 16-20 November 2015. http://www.who.int/medicines/access/controlled- substances/5.1_MT-45_CRev.pdf