ชื่อเรียกอื่น 1-phenyl-1-hydroxy-2-methylaminopropane
CAS number 90-82-4
น้ำหนักโมเลกุล 165.24
จุดหลอมเหลว 117-119 องศาเซลเซียส
คุณสมบัติ เป็นแกรนูลหรือผลึกสีขาว ดูดความชื้นได้ง่าย เสื่อมสลายเมื่อถูกแสง
การใช้ที่ผิดกฎหมาย นำไปใช้ในการผลิตเมทแอมเฟตามีน (methamphetamine) ทั้งนี้เพราะสูตรโครงสร้างของซูโดอีเฟดรีน มีลักษณะคล้ายคลึงกับเมทแอมเฟตามีน อ่านเพิ่มเติมได้จาก http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=94
การใช้ที่ถูกกฎหมาย นำไปใช้ในอุตสาหกรรมยา ทั้งในรูปแบบที่เป็น
1. ยาซูโดอีเฟดรีนสูตรตำรับเดี่ยว ทั้งรูปแบบยาเม็ด ได้แก่ pseudoephedrine 60 mgต่อเม็ด pseudoephedrine 30 mgต่อเม็ด หรือ รูปแบบยาน้ำเชื่อม ได้แก่ pseudoephedrine 30 mg / 1ช้อนชา (5ml.) เป็นต้น
2. ยาสูตรผสมที่มีซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนประกอบ ทั้งในรูปแบบยาเม็ดและยาน้ำ ซึ่งมีหลายสูตร ได้แก่
– pseudoephedrine + triprolidine
– pseudoephedrine + chlorpheniramine
– pseudoephedrine + brompheniramine เป็นต้น
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา/การนำไปใช้ประโยชน์ทางคลินิก ยาออกฤทธิ์กระตุ้น alpha-adrenergic receptors บนกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดบริเวณเยื่อบุจมูก ทำให้หลอดเลือดแดงและดำหดตัว ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณที่บวมของเยื่อบุจมูกจะลดลง ทำให้ลดอาการบวมของเยื่อบุจมูก จึงนำไปใช้เป็นยาแก้คัดจมูก ลดน้ำมูก นอกจากนี้ยาจะสามารถเข้าถึงทุกส่วนของช่องจมูก ตลอดจนท่อติดต่อระหว่างจมูกและหูชั้นกลาง ( eustatian tube ) และโพรงอากาศต่างๆ ได้ จึงใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นในการรักษาหูชั้นกลางอักเสบ โดยยาจะมีผลลดการบวมรอบ eustatian ostia ทำให้ท่อ eustatian ไม่ตัน ซึ่งจะช่วยลดการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนของหูชั้นกลาง รวมถึงยังนำไปใช้แก้หูอื้อ และ บรรเทาอาการปวดหูที่เกิดจากการเปลี่ยนความดันอากาศ เช่นในขณะเครื่องบินกำลัง ลดระดับเพดานบิน
ข้อควรระวังในการใช้ยาซูโดเอฟีดรีน ได้แก่ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ต่อมลูกหมากโต ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ และต้อหินบางชนิด รวมทั้งผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภาวะเหล่านี้ ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนการใช้ยา
เดิม การควบคุมทางกฎหมาย
– พ.ศ. 2531 ประเทศไทยเริ่มต้นควบคุม Pseudoephedrine โดยควบคุมเฉพาะที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3
– พ.ศ. 2534 ได้มีการยกระดับการควบคุม Pseudoephedrine เฉพาะเภสัชเคมีภัณฑ์เป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 และกำหนดการควบคุม Pseudoephedrine วัตถุตำรับเดี่ยวเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 3
– พ.ศ. 2539 ได้ปรับการควบคุมให้ทั้งเภสัชเคมีภัณฑ์และวัตถุตำรับเดี่ยวเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 โดยมีเงื่อนไขยกเว้นซูโดอีเฟดรีน ที่เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
ปัจจุบัน การควบคุมตามกฎหมาย
ซูโดอีเฟดรีนที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์ทั้งสูตรเดี่ยวและสูตรผสม รวมถึงซูโดอีเฟดรีนที่เป็นวัตถุดิบ จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2
ซูโดอีเฟดรีนที่เป็นยาสำเร็จรูปทั้งรูปแบบยาซูโดอีเฟดรีนสูตรเดี่ยว รวมถึงยาสูตรผสมที่มีซูโออีเฟดรีนเป็นส่วนประกอบ จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ( ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2555 )ประชาชนที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาดังกล่าว ต้องไปพบแพทย์ตามสถานพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน คลินิก เมื่อได้รับการสั่งจ่ายยาดังกล่าวโดยแพทย์ ประชาชนสามารถครอบครองยาเพื่อใช้ในการรักษาตนเองตามเอกสารหลักฐาน ที่แสดงว่าเป็นการครอบครองยาดังกล่าวโดยคำสั่งแพทย์ เช่น ใบรับรองแพทย์ ใบสั่งยา หรือเอกสารกำกับบนซองยา ซึ่งแสดงชื่อและที่อยู่ของสถานพยาบาลที่สั่งจ่าย และ ชื่อของคนไข้ เป็นต้น
บทลงโทษ ผู้ครอบครองซูโดอีเฟดรีนโดยไม่ได้รับอนุญาต (กรณีเป็นยาทั้งรูปแบบซูโดอีเฟดรีนสูตรเดี่ยว และยาสูตรผสมที่มีซูโออีเฟดรีนเป็นส่วนประกอบ การครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จะหมายรวมถึง การครอบครองยาดังกล่าวโดย ไม่มีเอกสารหลักฐานที่ แสดงว่าเป็นการครอบครองยาดังกล่าวตามคำสั่งแพทย์) จะถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ฐานความผิดครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยควบคุมเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด มีบทกำหนดโทษ ดังนี้
บรรณานุกรม
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/Question.asp?ID=684&gid=1
http://en.wikipedia.org/wiki/Pseudoephedrine
ซูโดเอฟีดรีน (pseudoephedrine) พระเอกหรือผู้ร้าย? : อ.ภก.พงศธร มีสวัสดิ์สม ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จาก http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=94
อ่านเพิ่มเติม
– แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้เกี่ยวข้องเมื่อควบคุมซูโดอีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท2
– การดำเนินการควบคุมและกำกับดูแล Pseudoephedrine ของ อย.ข้อมูล ณ พฤษภาคม พ.ศ. 2555
update มกราคม 2566