Sibutramine
28 มีนาคม 2566

Sibutramine (ไซบูทรามีน)


Sibutramine_JPG.jpg


ชื่อการค้า :   Reductil

ข้อมูลทั่วไป (1) :  สูตรโมเลกุล : C17H26ClN

มวลโมเลกุล : 279.852 g/mol

CAS Number : 106650-56-0

ลักษณะกายภาพ : ของแข็ง (solid)

จุดหลอมเหลว : 191-192 °C

ฤทธิ์เภสัชวิทยา: ยับยั้งการดูดเก็บกลับของสารสื่อประสาทบางประเภท เช่น Serotonin, Norepinephrine  ทำให้สารเหล่านี้ทำงานนานขึ้น ส่งผลให้ความอยากอาหารลดลงและอิ่มเร็วขึ้น ทั้งกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญของร่างกายด้วย(2)

ข้อบ่งใช้ : ใช้ควบคุมน้ำหนักร่วมกับโปรแกรมควบคุมน้ำหนักในผู้ที่มีมีดรรชนีมวลกายตั้งแต่ 30 kg/mหรือผู้ที่มีมีดรรชนีมวลกายตั้งแต่ 27 kg/m2 แต่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง และความดัน โลหิตสูงที่ควบคุมได้ โดยแนะนำให้ใช้ในขนาด 10 –15 มิลลิกรัมต่อวัน

อาการไม่พึงประสงค์ : อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยามีตั้งแต่ท้องผูก ปากแห้ง นอนไม่หลับคลื่นไส้ หลอดเลือดขยาย ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น สับสน อ่อนแรง ปวดหัว โดยอุบัติการณ์การเกิดแตกต่างกันไป แต่ปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสนใจคือ ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ และหลอดเลือด  ***ไซบูทรามีนเป็นยาที่ยกเลิกทะเบียนตำรับไปแล้ว ตั้งแต่ ปี 2553(3) เนื่องจากมีรายงานถึงผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิต(4)

การใช้ยาในทางที่ผิด : ลักลอบใส่ไซบูทรามีนในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยส่วนมากพบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาอวดอ้างลดน้ำหนัก

การควบคุมทางกฎหมาย : ประเทศไทยจัดไซบูทรามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด


บทลงโทษ.png


อ้างอิง :

  1. National Center for Biotechnology Information (NCBI).//Pubchem.//สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561./จาก/https://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/compound/sibutramine#section=Top
  2. รุจิรา บุญส่อง และดอกรัก ก้อนทอง.// Sibutramine : วารสารนิติเวชศาสตร์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1. มกราคม – มิถุนายน 2557. //สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561./จาก/http://www.forensicchula.net/FMJ/journal/topic/11.pdf
  3. กระทรวงสาธารณสุข.//สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.//ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ.//(2553).// Sibutramine : เพิกถอนทะเบียนตํารับโดยสมัครใจ.//สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561./จาก/http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/News/uploads/hpvc_2_5_26.pdf
  4. กระทรวงสาธารณสุข.//สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา.//ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ.//(2553).//Sibutramine : ความเสี่ยงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด.//สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561./จาก/http://thaihpvc.fda.moph.go.th/thaihvc/Public/News/uploads/hpvc_2_5_25.pdf

update มกราคม 2566