TFMPP
28 มีนาคม 2566

ชื่อทางเคมี 1-(3-(trifluoromethyl)phenyl) piperazine

ชื่ออื่นๆ : TFMPP

สูตรโมเลกุล : C11H13 F3N2

น้ำหนักโมเลกุล : 230.23

CAS Number  : 15532-75-9



150px-TFMPP_svg.png


tfmpp_basics.jpg


คุณสมบัติ  : 

– TFMPP เป็นสารสังเคราะห์ที่เป็นอนุพันธ์ของพิเพอราซีน (piperazine) การใช้ในขนาดสูง 100 mg มีฤทธิ์ทำให้ประสาทหลอน (hallucinogenic effect) (คล้ายMDMA)

– ออกฤทธิ์โดยจับกับ serotonin ในสมอง และกระตุ้นการหลั่ง serotonin

– ไม่มีผลต่อการดูดกลับของ noradrenaline และ dopamine

– ขนาดยาที่ใช้ร่วมกับ BZP เพื่อให้เกิดฤทธิ์คล้ายการเสพ MDMA อยู่ระหว่าง 30 – 100 mg


การนำไปใช้ในทางที่ผิด
  :  มีการลักลอบผลิตและขายทางอินเตอร์เน็ต ทั้งในรูปแบบเม็ด แคบซูล และผงละเอียด  เพื่อหี่ผ่อนคลายอารมณ์ เคลิบเคลิ้ม มีความสุข (recreational use)  มักพบเป็นสวนผสมกับ BZP ในรูปแบบ party pills หรือ club drugs การใช้สารนี้เดี่ยวๆ ไม่เป็นที่นิยม อาจจะเนื่องมาจากการใช้ในขนาดสูงนอกจากจะเกิดประสาทหลอนแล้ว ยังเกิดอาการข้างเคียงอื่นอีก เช่น ปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน   การใช้ในขนาดสูงหรือใช้ร่วมกับยาเสพติดชนิดอื่นหรือแอลกอฮอล์ อาจทำให้เกิดอาการชัก หรือมีอันตรายถึงชีวิตได้มีการนำสาร BZP และ TFMPP (Trifluoromethylphenylpiperazine) มาใช้ในทางที่ผิดในประเทศไทย โดยในระหว่างเดือนกรกฎาคม 2552 – พฤษภาคม 2553 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้รับตัวอย่างของกลางและตรวจวิเคราะห์พบ ตัวอย่างที่เป็นส่วนผสมของ BZP และ TFMPP พื้นที่เกิดเหตุอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร


การควบคุมในประเทศไทย  : TFMPP ถูกประกาศเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท1 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด


บทลงโทษ.png


บรรณานุกรม

http://en.wikipedia.org/wiki/Trifluoromethylphenylpiperazine

http://www.erowid.org/chemicals/tfmpp/tfmpp_article1.shtml

http://www.erowid.org/chemicals/tfmpp/tfmpp_basics.shtml

http://en.wikipedia.org/wiki/Trifluoromethylphenylpiperazine


อ่านเพิ่มเติม

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 พ.ศ. 2565 ที่ระบุให้ BZP และ TFMPP เป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1

update มกราคม 2566