Khat / Chat /Cathinone /Cathine
ชื่ออื่น Arabian tea, khat, qat, gat, or miraa
พืช Khat หรือ Chat มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Catha edulis อยู่ในวงศ์ Celastraceae พบในประเทศแถบอาหรับใต้ และแอฟริกาตะวันออก โดยมีถิ่นดั้งเดิมในประเทศโซมาเลีย เยเมน เคนยา และเอธิโอเปีย
ในพืช Khat มีสารประกอบแอลคาลอยด์หลายชนิด โดยมีสารสำคัญที่พบในพืช Khat สด คือ คาทิโนน ( cathinone ) และคาทีน ( cathine หรือ d-norpseudoephedrine ) ซึ่ง cathinone มีความแรงมากกว่า cathine ถึง 10 เท่า cathinone มีฤทธิ์ในการกระตุ้นประสาท ลดความอยากอาหาร และทำให้เคลิบเคลิ้มเป็นสุข(Euphoria) อย่างไรก็ตาม ใน 48 ชั่วโมงภายหลังการตัดออกจากต้น สาร cathinone จะสลายตัวคงเหลือสาร cathine จึงเป็นเหตุผลที่คนส่วนใหญ่นิยมเสพใบสด เนื่องจากมีสาร cathinone อยู่มากและภายหลังการตัดจะห่อใบสดด้วยใบตองเพื่อคงความสดของพืชไว้
สูตรโครงสร้าง Cathinone | สูตรโครงสร้าง Cathine หรือ d-norpseudoephedrine |
การนำใปใช้ในทางที่ผิด เคี้ยวใบสด หรือใช้ใบแห้งในการชงชา หรือผสมในอาหาร
ระยะเวลาการออกฤทธิ์ ภายหลังรับประทานพืช Khat ความดันเลือดจะสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งฤทธิ์กระตุ้นประสาทจะอยู่นานประมาณ 90นาที-3ชั่วโมง แต่ในบางราย อาจอยู่ได้นานถึง 24 ชั่วโมง การใช้พืช Khat ไปนานๆ อาจทำให้เกิดความหวาดระแวง ประสาทหลอน เกิดความผิดปกติของระบบประสาท การหายใจ การไหลเวียนเลือด และระบบการย่อยอาหาร
การควบคุมตามกฎหมาย
ในพืช Khat เป็นที่นิยม และถูกควบคุมตามกฎหมายในหลายประเทศ เช่น เยเมน เอธิโอเปีย โซมาเลีย แต่พืช Khat เป็นสิ่งผิดกฎหมายในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฟินแลนด์ เยอรมันนี นอรเวย์ ฝรั่งเศส
สำหรับประเทศไทย ควบคุมสารที่พบในพืช Khat คือ คาทิโนน ( cathinone ) จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท1 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
และ คาทีน ( cathine ) จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ปัจจุบันประเทศไทย ไม่มีการนำ cathine ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
บรรณานุกรม
advances in psychiatric treatment ( 2003 ) vol9 ,456-463 : Adverse effects of Khat : a review Glenice Cox&Hagen Rampes
Australian Government, Department of Health and Aged care, Importing khat into Australia, 11 Jan 23 retrieved from odc.gov.au/khat/importing-khat-australia
http://en.wikipedia.org/wiki/Khat
update มกราคม 2566